"หวยซอง เลขเด็ด เขียนโดยสาธารณชน เป็นการเสนอแนะเพื่อเสี่ยงโชคซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ถูกกฎหมายเท่านั้น ไม่มีการขายหวยทุกชนิด และ ไม่มีใครทราบว่าหวยจะออกตัวไหน โปรดใช้วิจารณญาณ"

เรื่อง: ซาบซึ้งน้ำพระทัยในสมเด็จพระปิยมหาราช
 
 5224

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ผู้ช่วย Webmaster *
  • พลังน้ำใจ: 175166
23 ตุลาคม 2020, 18:29:01น.


ซาบซึ้งน้ำพระทัยในสมเด็จพระปิยมหาราช ที่ “นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ร.5ฯ”

โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
 
ถ้าหากถามว่าเรามีวันนี้ได้เพราะอะไร ฉันก็ขอตอบเลยว่า เพราะบรรพบุรุษของเราที่รวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น และยังสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ไว้ให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้มีกินมีใช้อย่างสุขสบาย โดยเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ของไทยทุกพระองค์ ได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมือง และพัฒนาประเทศให้ก้าวมาจนถึงทุกวันนี้ ฉันว่านี่เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นที่เราคงไม่สามารถตอบแทนได้หมดสิ้น

และเนื่องในวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือวันปิยะมหาราช ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ เนื่องจากพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระองค์นั้นได้ทำให้ประชาชนมีชีวิตอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ฉันจึงขอร่วมรำลึกถึงพระองค์ท่าน ด้วยการเข้าไปชม “นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตึกถาวรวัตถุ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์




ใครที่มาสนามหลวงแล้วเห็นตึกสีเหลืองอยู่ตรงฝั่งวัดมหาธาตุฯ นั่นแหละคือสถานที่ตั้งของอาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ มองดูภายนอกแล้วก็จะเห็นถึงความสวยงามของสถาปัตยกรรม แต่นอกจากนั้นแล้ว ต้องขอบอกเลยว่า อาคารแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจเช่นกัน เพราะสร้างขึ้นตามพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ภายหลังจากมีการตั้งมหาธาตุวิทยาลัย

อีกประการหนึ่งคือเพื่อเป็นที่อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มาประดิษฐานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน เมื่อการบำเพ็ญพระราชกุศลนั้นแล้วจะได้ถวายอาคารนี้ให้เป็นสังฆิกเสนาสนะสำหรับมหาธาตุวิทยาลัยต่อไป



การสร้างอาคารถาวรวัตถุนี้แล้วเสร็จในรัชกาลที่ 6 และทรงพระราชทานให้เป็นที่ตั้งของหอสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาก็ได้มีการใช้งานเรื่อยมา จนกระทั่งมีการปรับปรุงเพื่อให้เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระปิยมหาราช

ภายในนิทรรศการจะแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 7 ส่วน ซึ่งฉันจะเริ่มเดินชมนิทรรศการกันที่ “ห้องปิยมหาราช” ห้องนี้มีทั้งเนื้อหาและภาพเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระองค์ท่าน รวมทั้งพระราชกรณียกิจที่สำคัญต่างๆ ที่ทำให้คนรุ่นหลังอย่างฉันได้รู้ว่า สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในทุกวันนี้ก็ล้วนแต่เกิดขึ้นจากสายพระเนตรอันยาวไกล รวมทั้งได้อัญเชิญพระบรมราโชวาทในวาระต่างๆ ที่แสดงถึงพระราชปณิธานของพระองค์



พอเดินผ่านเข้ามายังส่วนที่ 2 “ห้องราชเคียงประชา” ก็มีเสียงส่งเข้ามาทักทายก่อนเป็นอันดับแรก โดยเป็นเสียงจากวีดิทัศน์เกี่ยวกับการเลิกทาส ซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญ ที่ทำให้สังคมไทยเกิดความเสมอภาคกัน ทำให้ราษฎรไทยได้เป็นไท และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการศึกษาอย่างเป็นแบบแผน ดังที่ทรงมีพระราชดำรัสในวันพระราชทานประกาศนียบัตร ณ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ว่า “...ตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นลงไป ตลอดจนราษฎรต่ำที่สุด จะได้มีโอกาสได้เล่าเรียนเสมอกัน...”

ส่วนในเรื่องของการสอดส่องความเป็นอยู่ของราษฎรนั้น ก็ได้มีการเสด็จพระพาสต้น เพื่อจะได้ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรตามความเป็นจริง และได้ล่วงรู้ถึงทุกข์สุขของพสกนิกรด้วยพระองค์เอง เดินดูภาพและข้อมูลต่างๆ แล้ว ฉันรู้สึกได้เลยว่า พระองค์ทรงอยู่เคียงข้างประชาชนจริงๆ ดังชื่อของห้องนี้




ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นช่วงที่มีชาวต่างชาติเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยอย่างมาก และยังเป็นช่วงที่ลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกมีผลกระทบโดยตรงกับดินแดนในทวีปเอเชีย ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยของเรา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงดำเนินพระราชวิเทโศบายต่างๆ เพื่อให้ชาติไทยผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ ถ้าหากว่าเห็นการจัดแสดงภาพต่างๆ ภายใน “ห้องธำรงเอกราช” จะเห็นได้เลยว่าพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้สามารถดำรงเอกราชของชาติไว้ได้ แม้จะต้องเสียดินแดนไปเป็นบางส่วนก็ตาม


หลังจากผ่านวิกฤติต่างๆ มาแล้ว บ้านเมืองของเราก็เริ่มมีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากการเสด็จประพาสชาติตะวันตกหลายประเทศ พระองค์ได้นำความทันสมัยหลากหลายด้านมาปรับใช้กับประเทศไทย อย่างเช่นการวางรากฐานกิจการด้านสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า น้ำประปา การไปรษณีย์ อันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาบ้านเมืองต่อมา ที่ “ห้องสยามใหม่” แห่งนี้ นอกจากจะได้เห็นว่าบ้านเมืองเรามีการพัฒนาในด้านใดบ้างแล้ว ฉันก็ได้ลองเขียนและส่งไปรษณียบัตรที่ระลึก หย่อนลงในตู้สำหรับทิ้งหนังสือฝาก หรือตู้ไปรษณีย์ ที่มีคุณบุรุษไปรษณีย์ยืนประจำการอยู่ด้วย



นอกจากการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานแล้ว ศิลปะต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นก็มีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก เกิดขึ้นจากการผสมผสานศิลปกรรมจากโลกตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน สังเกตได้จาก “ห้องมรดกสถาปัตยกรรมแห่งสยาม” ที่แสดงอาคารจำลองสถาปัตยกรรมสำคัญ 5 แห่ง ที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งก็คือ พระที่นั่งอนันตสมาคม วังบางขุนพรหม ธนาคารไทยพาณิชย์ (สาขาตลาดน้อย) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และ ตึกถาวรวัตถุ อันเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการแห่งนี้เอง ถ้ามองดูตึกเหล่านี้แล้ว แม้ว่าจะเป็นรูปทรงออกไปทางตะวันตก แต่ก็มีศิลปกรรมแบบไทยๆ ที่อ่อนช้อยเข้ามาผสมอยู่มากเหมือนกัน


การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะกับคนไทย เพราะเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวเนื่องในด้านการพัฒนาประเทศ ระหว่าง พ.ศ.2411-2453 ก็ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกโดยองค์การยูเนสโก ซึ่งหากอยากรู้ว่ามีเอกสารอะไรบ้างนั้นก็ต้องเข้ามาที่ “ห้องมรดกความทรงจำแห่งโลก” สามารถเลือกหยิบหนังสือมาอ่าน หรืออ่านจากสำเนาเอกสารด้วยระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-บุ๊ค ก็ได้

ส่วนห้องสุดท้าย “ปิยมหาราชรฤก” จะอยู่บริเวณระเบียงของตึก จัดแสดงภาพถ่ายส่วนพระองค์จำนวนมาก โดยทางกรมศิลปากรจะมีการหมุนเวียนภาพที่นำมาจัดแสดงเป็นระยะ ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นระเบียงภาพมีชีวิต ฉันเดินดูภาพต่างๆ แล้วก็นึกย้อนกลับไปในสมัยก่อน แม้ว่าจะเกิดไม่ทัน แต่ก็ได้เห็นสังคมไทยสมัยก่อนผ่านภาพถ่ายเหล่านี้



ใครที่เดินชมนิทรรศการจนจุใจแล้ว ขาออกก็ยังมีส่วนที่จัดจำหน่ายหนังสือที่มีคุณค่าทางโบราณคดีมากมาย โดยเงินรายได้จะนำไปสมทบกองทุนเพื่อบูรณะสถานที่ แถมเพิ่มเติมอีกนิดสำหรับคนที่ชอบถ่ายรูป ที่นี่สามารถเข้าไปเก็บความทรงจำผ่านเลนส์ได้เลย แต่งดใช้แฟลชและขาตั้งกล้อง เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ภาพและสถานที่จัดแสดง

สำหรับคนที่ชอบประวัติศาสตร์ หากเข้ามาชมนิทรรศการนี้ก็อาจจะได้เห็นถึงความเป็นมาช่วงหนึ่งของชาติไทย แต่สำหรับคนทั่วไปอย่างฉัน รวมไปถึงลูกหลาน เด็กเล็ก เด็กโต พ่อแม่พี่น้อง ฉันก็อยากจะชวนให้เข้ามาที่นี่ เพื่อซึมซับความเป็นชาติไทย และพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงทำเพื่อปวงชนชาวไทย จนสามารถยืนอยู่ได้ในทุกวันนี้



อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตึกถาวรวัตถุ) ตั้งอยู่ข้างวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (ฝั่งสนามหลวง) เปิดให้เข้าชมวันพุธ-ศุกร์ (หยุดวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 09.30-16.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

โดย: MGR Online






 S|d'



ผู้ช่วย Webmaster *
  • พลังน้ำใจ: 175166
ตอบกลับ #1 23 ตุลาคม 2020, 18:50:45น.

วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช


วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี ภาษาอังกฤษคือ Chulalongkorn Day เป็นวันสำคัญ และวันหยุดราชการวันหนึ่งของไทย โดยวันนี้เป็นวันที่คนไทยรู้จักกันดีคือ “วันเลิกทาส” ตั้งแต่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 และห้ามมีการซื้อขายทาสอีกในประเทศไทย

ประวัติของวันปิยมหาราช
วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยหลายด้าน และสิ่งที่โดดเด่นคือ การประกาศเลิกทาส เป็นการหยุดวงจรการเป็นทาส เพราะเมื่อสมัยก่อนหากพ่อแม่เป็นทาส ลูกที่เกิดมาก็ต้องเป็นทาสต่อไปเรื่อยๆ ทางราชการจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีเป็นหนึ่งในวันระลึกถึงความสำคัญของเหตุการณ์ในชาติ โดยเรียกว่า “วันปิยมหาราช” พร้อมทั้งกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ

ความสำคัญ
วันปิยมหาราช เป็นวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในทุกๆ ปีหน่วยงานราชการจะมีการวางพวงมาลาดอกไม้ ที่พระบรมรูปทรงม้าอย่างพร้อมเพรียง เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเลิกไพร่ เลิกทาส
แต่ดั้งเดิมนั้นประเทศไทยของเรา มีพลเมืองที่เป็นชนชั้นทาสมากกว่า 30% ของพลเมืองทั้งประเทศ เนื่องจากการได้รับวรรณะทาสนั้นจะถูกสืบจากสายเลือด หากพ่อแม่เป็นทาส ลูกก็จะเป็นทาสด้วย โดยทาสนั้นแบ่งออกเป็น 7 ประเภทใหญ่ๆ

1.ทาสสินไถ่: เกิดจากการขายตัวเป็นทาส ทาสประเภทนี้มักยากจน
2.ทาสในเรือนเบี้ย: เกิดจากการที่แม่เป็นทาส พ่อเป็นนายทาส
3.ทาสมรดก: เกิดจากการส่งต่อมรดกของนายทาสที่เสียชีวิตลง ส่งให้นายทาสคนต่อไป
4.ทาสท่านให้: ทานที่ได้รับมาจากผู้อื่น
5.ทาสทัณฑ์โทษ: กรณีที่บุคคลนั้นถูกลงโทษ แต่ไม่สามารถหาเงินมาชดใช้ได้หมด ถ้าหากมีนายทาสมาช่วยเหลือ ถือว่าบุคคลนั้นกลายเป็นทาสของนายทาสคนนั้น
6.ทาสที่ช่วยไว้จากความอดอยาก: คือการขายตนเองให้นายทาส เพื่อหลีกหนีจากความอดอยากที่เผชิญอยู่
7.ทาสเชลย: เกิดจากการที่ประเทศหรือพลเมืองนั้นๆ แพ้สงคราม จึงถูกผู้ชนะสงครามนำคนเหล่านั้นไปเป็นทาสรับใช้

การจะหลุดออกจากการเป็นทาสนั้นมี 6 วิธี
1.การหาเงินมาไถ่ถอนตนเอง
2.การบวชที่ต้องได้รับการยินยอมจากนายทาส
3.การหลบหนีจากการเป็นเชลยในสงคราม
4.การแต่งงานกับชนชั้นสูงกว่า
5.การแจ้งความนายจ้างว่าเป็นกบฏ และตรวจสอบว่าเป็นจริง
6.การประกาศจากรัชกาลที่ 5 ให้มีการเลิกทาส


สมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่ 5)

สมเด็จพระปิยมหาราช หรือพระนามเต็มว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และสมเด็จพระเทพศิริน-ทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 พระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์” เมื่อพระชนม์ 9 พรรษาได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ต่อมาอีก 4 ปี ได้เลื่อนเป็น “กรมขุนพินิตประชานาถ” บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 มีประราชกรณียกิจสำคัญมากมายคือ

การเลิกทาส ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า “พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124” (พ.ศ.2448) เลิกเรื่องลูกทาส ในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่เป็นทาสอีกต่อไป การซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด

การปฏิรูประเบียบบริหารราชการ ได้ทรงปรับปรุงหน้าที่ของกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่แต่เดิมให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยรวมกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายเวลานั้นเข้าเป็นกระทรวง กระทรวงหนึ่ง ๆ ก็มีหน้าที่อย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างพอเหมาะสม

การศึกษา ทรงโปรดให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง แล้วมีหมายประกาศชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการให้ส่งบุตรหลานเข้า เรียน โรงเรียนภาษาไทยนี้

การศาล ทรงตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เพื่อรวบรวมศาลต่าง ๆ ให้มาขึ้นอยู่ในกระทรวงเดียวกัน

การคมนาคม ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนบำรุงเมือง ถนนที่ทรงสร้างใหม่ คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น

การสุขาภิบาล ได้ทรงตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดูแลจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นหลายแห่ง เช่น ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลบางรัก โรงพยาบาลโรคจิต และโรงเลี้ยงเด็ก

การสงครามและการเสียดินแดน ท่านทรวงควบคุมการเสียดินแดนของไทย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็พยายามทำให้ได้ประโยชน์จากการเสียดินแดนให้มากที่สุด

การเสด็จประพาส ระหว่างที่ยังมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็ได้เสด็จประพาสต่างประเทศหลายที่ เพื่อดูแบบอย่างการปกครอง และนำมาแก้ไขดัดแปลงใช้ในประเทศของเราบ้าง

การศาสนา ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกโดยแท้จริงในด้านพระพุทธศาสนา

การวรรณคดี ทรงเป็นนักประพันธ์ ซึ่งมีความชำนาญทั้งทางร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น ไกลบ้าน ลิลิตนิทราชาคริต เงาะป่า พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นต้น



พระบรมรูปทรงม้า


ตั้งอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ โดยบริษัทซุซ เซอรเฟรส ฟองเดอร์ แล้วเสร็จเมื่อวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2451 รูปมีขนาดโตเท่าพระองค์จริง ประทำอยู่บนหลังม้าพระที่นั่ง หล่อด้วยโลหะทองบรอนซ์ เป็นรูปม้ายืน สูง 6 เมตร กว้าง 2.5 เมตร และยาว 5 เมตร

ในปัจจุบันมีประชาชนมากมายเข้าไปสักการบูชา ซึ่งดอกไม้ที่ประชาชนนิยมไปถวายคือดอกกุหลาบสีชมพู เนื่องจากเป็นสีเดียวกันวันพระราชสมภพของพระองค์ (วันอังคาร) ที่งดงาม และหนามแหลมคมเปรียบเสมือนอำนาจของพระองค์ เชื่อว่าหากบูชาแล้วจะทำให้ผู้บูชามีอำนาจมากขึ้น

คาถาสักการะบูชา ร.5
พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง แบบย่อ

“พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ” หรือแบบเต็ม “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ มาสีสะมานัง”


พระคาถาอธิษฐานขอพร แต่ห้ามบนบาน

“นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) พระสยามะมินโท วะโร อัตตัง พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิโย เทวามนุสสานัง”

จงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ปิโย นาคะสัมปันนานัง จงบังเกิดความรักที่มีอนุภาคสูงสุด ปิโย พรหมานะมุตตะโม จงบังเกิดความรักกับผู้มีอำนาจท่านท้าวมหาพรหม เจ้าจอม อินทรา นาค ครุฑ และคนธรรพ์ ปินันทิยัง นะมามินัง ความรัก ความยินดี ความเมตตา จงบังเกิดในเรือนร่างข้าพเจ้าทุกส่วนแม้ปลายเส้นผม

“ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (5 จบ) ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า (นาย นาง นางสาว) ชื่อ…นามสกุล… ต้องการให้พระองค์ท่านช่วยเรื่อง… อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะ นาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (3 จบ) พระพุทธเจ้าขอรับด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะขอให้บุญบารมีขององค์เสด็จพ่อ ร.5 สูงยิ่งๆ ขึ้น และแกร่งกล้ายิ่งๆ ขึ้น”






 S|d'

 

เว็บไซต์ในเครือข่ายอภิโชค : apichokeonlin.com | apichoke.net | apichoke.biz | apichoke.me | apichoke.org | apichoke.info
"ศาสตร์ของการคำนวณหวย สถิติหวยความน่าจะเป็น บนเว็บนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน-นักคำนวณ และบุคคลทั่วไปตลอดจนเลขจากไสยศาสตร์ต่างๆ การที่ใครจะถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือถูกหวย รวยด้วยหวย ก็เป็นเพียงแต่ การเสี่ยงโชค เสี่ยงดวง เท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ และไม่ควรงมงาย หากต้องการเสี่ยงโชค ซื้อหวย เล่นหวย ก็ขอให้ เสี่ยงโชคแต่พอเพียงตามกำลังของตนเอง อย่าซื้อเกินกำลังอาจทำให้เดือนร้อนได้"
คำเตือน : อย่าหลงเชื่อหากมีผู้อ้างตนเป็นอาจารย์ดังสามารถให้หวยถูก100%หรือให้ถูกทุกงวดแน่นอน หรืออวดอ้างว่ารู้จักกับเจ้าหน้าที่กองสลาก แล้วเรียกเก็บเงินจากท่าน
ข้อมูลในเว็บนี้ใช้ประกอบเสี่ยงโชคสำหรับซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเท่านั้น ไม่สนับสนุนหวยที่ผิดกฏหมาย