ปกิณณกะ > ธรรมะ
วันพระ คือ วันฟังธรรม
sonic x:
วันพระ คือ วันฟังธรรม
โดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
วันพระเรามาแสวงหาพระ เรามาพบพระสักวันหนึ่ง
ท่านจะใจประเสริฐในการพบพระ ในการปฏิบัติหน้าที่ของท่าน
โดยเฉพาะในกรอบของสติสัมปชัญญะ
ธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน คือ สติสัมปชัญญะ
บางคนขาดสติมาก ไม่มีโอกาสที่จะแสวงหาธรรมะได้แล้ว
พลาดทั้งโอกาสอันดีงาม ท่านจะเสียดายเวลาของท่าน
ที่เกิดมาในสากลโลกนี้อย่างแน่นอน
เพราะฉะนั้นในวันพระ คือ วันฟังธรรม
ฟังให้เกิดประโยชน์ ฟังธรรมเหมือนสร้างถ้ำให้จิตใจของเราเอง
ทำให้จิตใจเรามีสติสัมปชัญญะ ฟังให้เกิดความรู้
ใจเปรียบเหมือนเสือ เสียงธรรมะเปรียบเหมือนถ้ำคอยกำบัง
หูเราฟังใจเราคิด จิตจะได้สบาย เกิดความรู้ ความดี มีพลังและปัญญา
อานิสงส์หรือผลดีอันเกิดจากการฟังนั้น
มีประโยชน์มากมายหลายสถาน เช่น
๑. ทำให้ได้ฟังเรื่องใหม่ ฟังเรื่องที่ยังไม่เคยได้ยินไม่เคยได้ฟังมาก่อน
๒. ได้ใส่ใจในเรื่องเก่า ทบทวนหวนคิดถึงอดีตชีวิตที่ผ่านมา
ศรัทธาฟัง สนใจฟัง ทบทวน จดหัวข้อ ปฏิบัติทันที่อย่ารอรีแต่ประการใด
๓. บรรเทาความกังขา ปิดประตูความกังวลสงสัยเสียได้
๔. เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่เข้าใจสิ่งใดในทางที่ผิด
๕. มีสติมั่นคง มีสติดี จริตไม่แปรปรวนทวนกระแส
สิ่งสำคัญที่สุด การฟังต้องมีหลัก ๓ ประการ คือ
๑. ตั้งใจฟัง
๒. ตั้งใจทำ
๓. ตั้งใจนำไปปฏิบัติ
ท่านจะได้ประโยชน์โสถิผลของท่านโดยเฉพาะ
แต่บางคนก็ไม่ตั้งใจจำ ไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจปฏิบัติ
จำได้บ้างไม่ได้บ้างก็ทิ้งไป ถ้าฟังได้ประโยชน์โทษไม่มี ฟังดีย่อมมีปัญญา
บางท่านพูดถึงการฟังแปลกแตกต่างจากผู้อื่น
ซึ่งมีทั้งประเภท ฟังได้ฟังเสีย บางคนฟังได้ บางคนก็ฟังเสียเอาดีไม่ได้
แล้วแต่ทัศนคติในการฟังว่าจะเป็นไปในทางใด เช่น
๑. ฟังเล่น
บางเรื่องไม่จริงจัง สักแต่ว่าฟัง
หรือ ฟังแบบเสียไม่ได้ ก็ฟังส่งเดชไปอย่างนี้ ไม่ได้เรื่องได้ราว
๒. ฟังลอง
เป็นการฟังเพื่อเปรียบเทียบลองดู
ลองความรู้ ลองพื้นความรู้ และ ลองภูมิว่าผู้นี้จะสู้ผู้นั้นได้หรือไม่
หรือ ใครจะเก่งกว่ากัน
๓. ฟังเอาเรื่อง
พระสงฆ์จะได้สาระ หรือ อรรถรสแห่งธรรม และ ข้อปฏิบัตินั้น
๔. ฟังหาเรื่อง
เป็นการฟังเพื่อจับผิด ฟังด้วยจิตเป็นอกุศล
ไม่ได้สนใจในการฟังแต่ประการใด
จิตเป็นอกุศลกรรม คนนั้นจะดีไม่ได้แน่นอน
๕. ฟังไม่รู้เรื่อง
ฟังไปหลับไป หรือคุยกัน ผลสุดท้ายไม่รู้เรื่อง จำไม่ได้
และไม่รู้จะเอาอะไรเป็นข้อปฏิบัติ
ขอเจริญพรว่าผู้ที่ฟังได้ผลไม่เท่ากัน
บางคนตั้งแต่ต้นกำหนดจดจำนำไปปฏิบัติแน่นอน
บางคนก็สับสนชนปลาย ไม่เข้าใจในการฟัง
นี่แหละท่านสาธุชนทั้งหลาย ไม่ใช่จะเข้าใจทุกคน ไม่ใช่รู้ทุกคน
หมั่นฟัง หมั่นจำ หมั่นจด มั่นจำ
สิ่งใดงามอย่าได้งด หมั่นจดหมั่นจำเป็นตำรา
เอาตาชั่งเข้ามาดู เอาตราชูขึ้นมาชั่ง ไม่ใช่ฟังแล้วทิ้งไป เลยไม่ได้เรื่อง
จุดประสงค์ของการฟัง
ก็เพื่อ รู้แล้วนำไปคิดเพื่อใคร่ครวญด้วยปัญญา
เห็นว่าถูกต้องสอดคล้องด้วยเหตุผลก็นำไปใช้ได้
นำเอาไปใช้ได้ประโยชน์ หลีกเลี่ยงที่เป็นโทษต่อชีวิต
ดังบัณฑิตท่านกล่าวไว้ว่า
“รู้แล้วคิดพิชิตศัตรู
รู้แล้วเงียบได้เปรียบศัตรู
รู้แล้วปฏิบัติขจัดศัตรู
รู้แล้วทำหยิ่งจะยิ่งด้วยศัตรู”
พูดเท่านี้บางคนไม่รู้ไม่เข้าใจ โง่เป็นคุณ ฉลาดเป็นภัย
เสนียดจัญไรสำหรับคนฉลาด ไม่เอาการเอางาน
คนฉลาดไม่เอาการเอางาน รู้มากไม่ปฏิบัติธรรม
ไม่มีกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อชีวิตแต่ประการใด
ขอเจริญพระท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายเอ๋ย
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า คนที่กำลังพนมมือว่าเป็นชาวพุทธ
เป็นพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
จะรู้ได้ข้อเดียวว่า เขาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า
ถ้าปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เรียกว่าเขาเป็นชาวพุทธ
พนมมือเรียบร้อย แต่ไม่เคยปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเลย
จะเรียกว่าชาวพุทธได้อย่างไร เป็นชาวพุทธแบบปลอม
หาทำนองคลองธรรมไม่ได้เลย ขอฝากไว้
delete:
ขอบคุณค่ะ ท่านผู้ดูแลบอร์ดคนเก่ง สาระดี ๆ มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตค่ะ
★♥Cane♥★:
h*[ คืนนี้นอนหลับฝันดี ราตรีสวัสดิ์นะคะ ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะคะพี่โซนิค ขอบคุณค่ะT|g T|g
delete:
★♥Cane♥★:
h*[ สวัสดีค่ะพี่โซนิค +1 h*[
h*[ คืนนี้นอนหลับฝันดีนะคะ เป็นกำลังใจให้กันทุกวันค่ะ h*[
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version