ปกิณณกะ > ธรรมะ
คติธรรมคำสอน
bua:
วิธีใช้หนี้พ่อแม่ : ฉบับหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
1.จงสร้างความดีให้กับตัวเอง
และนี่ก็เป็นการใช้หนี้ตัวเอง ตัวเราพ่อให้หัวใจ แม่ให้น้ำเลือดน้ำเหลืองอยู่ในตัวแล้ว จะไปแสวงหาพ่อที่ไหน จะไปแสวงหาแม่ที่ไหน บางคนรังเกียจแม่ ว่าแก่เฒ่าไม่สวยไม่งาม พอตัวเองแก่ก็เลยถูกลูกหลานรังเกียจ จึงเป็นกงกรรมกงเกวียนยืดเยื้อกันต่อไปอีก
2. ใครที่คุณแม่ล่วงลับไปแล้ว
ก็ให้หมั่นทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน และถ้าจะทำบุญด้วยการเจริญกรรมฐาน แล้วอุทิศส่วนกุศลไป การทำเช่นนี้ถือว่าได้บุญมากที่สุด ทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ
3. ผู้ใดก็ตาม
ที่คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้กลับไปหาแม่ ไปกราบเท้าขอพรจากท่าน จะได้มั่งมีศรีสุข ส่วนคนที่เคยทำไม่ดีไว้กับท่าน ก็นำเทียนแพไปกราบขออโหสิกรรม ล้างเท้าให้ท่านด้วย เป็นการขอขมาลาโทษฯ
4. ขอฝากท่านไว้ไปสอนลูกหลาน
อย่าคิดไม่ดีกับพ่อแม่เลย ไม่ต้องถึงกับฆ่าหรอก แค่คิดว่าพ่อแม่เราไม่ดี จะทำมาหากินไม่ขึ้น เจ๊ง ท่านต้องแก้ปัญหาก่อนคือ ถอนคำพูด ไปขอสมาลาโทษเสีย แล้วมาเจริญกรรมฐาน รับรองสำเร็จแน่ มรรคผลเกิดแน่ ฯ
5. บางคนลืมพ่อลืมแม่
อย่าลืมนะการเถียงพ่อเถียงแม่ไม่ดี ขอบิณฑบาต สอนลูกหลานอย่าเถียงพ่อเถียงแม่ อย่าคิดไม่ดีกับพ่อกับแม่ ไม่อย่างนั้นจะก้าวหน้าได้อย่างไร ก้าวถอยหลังดำน้ำไม่โผล่ ฯ ท่านยกตัวอย่าง (เรื่องจริงนะจ๊ะ)
ตัวอย่าง ที่ 1
บ้านหนึ่งพ่อมีเมีย ๔ คน เมียหลวงบอกลูกว่าพ่อเจ้าไม่ดี ลูกก็ไปด่าพ่อว่าพ่อ
แล้วมาบวชวัดนี้ บวชแล้วเดี๋ยวเป็นโน่นเป็นนี่ จนจะกลายเป็นโรคประสาท
นี ่แหละบวชก็ไม่ได้ผล หลวงพ่อก็ให้ไปถอนคำพูด และขอสมาลาโทษกับพ่อเขาก่อน แล้วกลับมานั่งกรรมฐานจึงได้ผล
(กรณีนี้ หลวงพ่อจะเตือนผู้เป็นลูกบ่อยๆไม่ให้ว่าพ่อ) แต่ให้เป็นเรื่องของแม่ที่จะแก้ปัญหานี้ ซึ่งหลวงพ่อสอนไว้แล้ว
ตัวอย่าง ที่ 2
เมื่อเร็วๆนี้ลูกฆ่าพ่อ แม่สงสารพามาเจริญกรรมฐานพอเข้าวัดมันร้อนไปหมด ปวดหัวเข้าไม่ได้นี่เวรกรรมตามสนอง ปิตุฆาต มาตุฆาต ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ทำกรรมฐานไม่ได้แน่นอน ต้องหันรถกลับ นี่เรื่องจริงในวัดนี้ ฯ
6. คนที่มีบุญวาสนา จะกตัญญูกับพ่อแม่ คนเถียงพ่อเถียงแม่เอาดีไม่ได้
คนไม่พูดกับพ่อแม่ นั่งกรรมฐานร้อยปี ก็ไม่ได้อะไร? ถ้าไม่ขออโหสิกรรม ฯขออโหสิกรรม ที่คิดไม่ดีกับพ่อแม่ คิดไม่ดีกับครูบาอาจารย์ คิดไม่ดีกับพี่ๆน้อ! งๆ
จะไม่เอาอีกแล้ว เอาน้ำไปขันหนึ่ง เอาดอกมะลิโรย กายกัมมัง วจีกัมมัง มโนกัมมัง โยโทโส
อันว่าโทษทัณฑ์ใด ความผิดอันใด ที่ข้าพเจ้าพลั้งเผลอสติไป ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ขอให้คุณพ่อคุณแม่ คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย
คุณพี่คุณน้อง อโหสิกรรมให้ด้วย แล้วเอาน้ำรดมือรดเท้า ฯ
นี่แหละ ท่านทั้งหลายเอ๋ย เป็นหนี้บุญคุณพ่อแม่มากมาย ยังจะไปทวงนาทวงไร่ ทวงตึก มาเป็นของเราอีกหรือ ตัวเองก็พึ่งตัวเองไม่ได้ สอนตัวเองไม่ได้ เป็นคนอัปรีย์จัญไรในโลกมนุษย์ไปทวงหนี้พ่อแม่ พ่อแม่ให้แล้ว (ให้ชีวิต ให้…ให้… ให้….ฯลฯ ) เรียนสำเร็จแล้ว ยังช ่วยตัวเองไม่ได้ มีหนี้ติดค้าง รับรองทำมาหากินไม่ขึ้น ฯ
หนี้บุญคุณอันยิ่งใหญ่ เหลือจะนับประมาณ นั่นคือหนี้บุญคุณของบิดา มารดา
ตัวอย่าง ที่ 3
"หนามแหลมใครเสี้ยม มะนาวกลมเกลี้ยงใครไปกลึง"
เด็กประถม ๔ พ่อเมาเหล้า เมากัญชาเล่นการพนัน แม่เล่นหวย ปัจจุบันเป็นดอกเตอร์อยู่อเมริกา หลวงพ่อสอนครั้งเดียวจำได้
บอกวันเกิด หนูซื้อขนม ๒ ห่อ เรียกพ่อแม่มานั่งคู่กัน แล้วกราบนะลูกนะ
แล้วก็บอกพ่อแม่ว่า ความผิดอันใดที่ลูกพลั้งเผลอ ด้วยกาย วาจา ใจ ที่คิดไม่ดีต่อคุณพ่อคุณแม่
ขอให้คุณพ่อคุณแม่อโหสิกรรมให้ แล้วล้างเท้าให้พ่อแม่ ลูกไม่มีสตางค์ ลูกซื้อขนมมา ๒ ห่อ
ให้แม่ก่อน ๑ ห่อ เพราะอุ้มท้องมา แล้วจึงให้พ่ออีก ๑ ห่อ ลูกขอปฏิญาณตนว่า ลูกขอเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ แล้วจะเป็นศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์ ลูกจะไม่ทำให้พ่อแม่ผิดหวัง...
พ่อฟังแล้วน้ำตาร่วงสร่างเมา ส่วนแม่ก็ร้องไห้เลย พ่อแม่ก็ให้สัญญากับลูกเลิกอบายมุขทั้งหมด
7. ลูกหลานโปรดจำไว้
เมื่อแยกครอบครัวไปมีสามีภรรยาแล้ว อย่าลืมไปหาพ่อแม่ ถึงวันว่างเมื่อไรต้องไปหาพ่อแม่
ถึงวันเกิดของลูกหลาน อย่าลืมเอาของไปให้พ่อแม่รับประทาน อย่ากินเหล้า เข้าโฮเต็ล
8. ชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้เป็นมงคล! นาม
ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน เพราะชื่อเป็นเพียงนามสมมุติแทนตัวเรา อย่างหลวงพ่อชื่อจรัญ ปู่ตั้งให้ หมอดูบอกเป็นกาลกิณี แต่ทำไมเจริญรุ่งเรือง ขอให้เชื่อพระพุทธเจ้าทำดีได้ดี
9. ของดี ของ ปู่ ย! ่า ตา ยาย อย่าไปทำลายเลย
ของพ่อแม่อย่าไปทำลายนะ หนีได้แน่นอน โยมมีกรรมฐาน มีทรัพย์ มีชื่อเสียง ความรัก บูชาทรัพย์ บูชาชื่อเสียง ความรักของพ่อแม่ได้ เงินจะไหลนองทองจะไหลมา.........
พ่อแม่ให้อะไรเอาไว้ก่อน อย่าไปทำลายเสีย ถึงจะเป็นถ้วยพ่อแม่ให้มา ก็ไว้เป็นที่ระลึกก็ยังดีอย่าเอาไปทิ้งขว้าง ฯ
10. ถ้าต้องการเจริญก้าวหน้าขอฝากไว้ด้วย
คนเรามี ๒ ก้าว จะก้าวขึ้นหรือก้าวลงดำน้ำไม่โผล่ ก้าวลงมันง่ายดี ก้าวขึ้นมันต้องยาก ของชั่วมันง่าย หลั่งไหลไปตามที่ต่ำ
นี่บอกสอนลูกหลาน ต้องการจะบรรจุงานไม่ต้องไปวิ่งเต้น ดูลูกเสียก่อน กุศลเพียงพอหรือเปล่า ต้องเพิ่มกุศล
ตัวอย่างเรียนจบครู สวดมนตร์เข้าเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นครู ทำงานธนาคารก็ได้ บริษัทก็ได้เดี๋ยวมีคนรับ บางรายทั้งสอบทั้งสมัครหลายแห่งไม่เคยเรียกเลย อาตมาให้นั่งกรรมฐาน พอ ๗ วันผ่านไปพวกมาตามให้เข้าไปทำงานแล้ว
ถ้าส่งต่อก็จะเป็นบุญแก่ตัวเองนะ
ไม่ได้บังคับ
[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
bua:
คติธรรมคำสอน
-----------------------------------------------------------------------------
ผู้สนใจปฎิบัติธรรม คือผู้สนใจหาความรู้ความฉลาด เพื่อคุณงามความดีทั้งหลายที่โลกเขาปรารถนากัน เพราะคนเราจะอยู่ในโลกไปโดยไม่มีเครื่องป้องกันตัว ย่อมไม่ปลอดภัยต่ออันตรายทั้งภายนอกภายใน เครื่องป้องกันคือ หลักธรรม มีสติเป็นอาวุธสำคัญ จะเป็นเครื่องมั่นคงไม่สะทกสะท้าน มีสติปัญญาแฝงอยู่ในทุกอิริยาบท จะคิดจะพูดอะไรไม่มีการยกเว้น มีสติสอดแทรกอยู่ด้วยกันทั้งภายนอกภายใน มีความเข้มแข็งอดทน มีความเพียรและประกอบคุณงามความดี คนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่น วุ่นวายอยู่กับอารมณ์ เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจ และเกียจคร้านในกิจการที่จะยกตัวให้พ้นภัย
การตำหนิผู้อื่น ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวน จิตใจของตนขุ่นมัวไปด้วย ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดแต่ตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรม ไม่ดีเลย จะเป็นโทษให้ได้สิ่งไม่พึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน
การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลัดสังเวชต่อในความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสรัางขึ้นมาเอง
เมื่อเกิดมาอาภัพชาติแล้ว อย่าให้ใจอาภัพอีก คิดแต่ผลิตโทษ ทำบาปอกุศลเผาผลาญตัวเองให้ได้ทุกข์ เป็นบาปกรรม คนชั่วทำชั่วได้ง่าย และติดใจไม่ย่อมลดละแก้ไขให้ดี คนดีทำดีได้ง่าย และติดใจกลายเป็นคนรักธรรมตลอดไป
เราต้องการของดี คนดีก็ต้องฝึก ฝึกจนดี จะพ้นการฝึกไปไม้ได้ งานอะไรก็ต้องฝึกทั้งนั้น ฝึกงาน ฝึกคน ฝึกสัตว์ ฝึกตน ฝึกใจ นอกจากตายแล้วจึงจะหมดการฝึก คำว่าดี จะเป็นสมบัติของผู้ฝึกดีแล้วแน่นอน
ผู้เห็นคุณค่าของตนเอง จึงควรเห็นคุณค่าของผู้อื่นว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนทำลายกัน ผู้มีศีลมีสัตว์ เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคิตในโลกสวรรค์ ไม่ตกต่ำ เพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน จึงควรเป็นอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์ ธรรมก็สั่งสอนแล้วจดจำให้ดี ปฎิบัติให้มั่นคง จะเป็นผู้ทรงคุณสมบัตทุกอย่างแน่นอน
ศีลนั้นอยู่ที่ไหน มีตัวตนเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่าผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนา คือ จิตใจ คนเราถ้าจิตใจไม่มีก็ไม่เรียกว่าคน มีแต่กายจะทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยกันและกัน เมื่อจิตใจไม่เป็นศีล กายก็ประพฤไปต่างๆ มีโทษต่างๆ ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียนไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลงหาหลงขอ คนที่หาคนที่ขอต้องเป็นทุกข์ ขอเท่าไรยิ่งไม่มี ยิ่งอดอยากยากเข็ญ
ผู้ที่มีศีลแท้ เป็นผู้หมดเวรหมดภัย กายกับจิตเราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้มาจากบิดา มารดา พร้อมบริบรูณ์แล้ว จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลที่มีอยู่ที่เรานี้แล้วรักษาได้ไม่มีกาล ได้ผลไม่มีกาล ผู้มีศีลเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ผู้มีศีลย่อมมีความสุข มั่นคง บริบรูณ์ สมบูรณ์ ไม่อด ไม่อยาก ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลได้สมบูรณ์ จิตดวงเดียวเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา
พระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องกาย วาจา จิต มิได้สอนอย่างอื่น ทรงสอนให้ปฎิบัติฝึกหัดจิตใจ ให้เอาจิตพิจารณากาย เรียกว่า กายานัปัสสนาสติปัฎฐาน หัดสติให้มาก ในการค้นคว้าที่เรียกว่า ธัมมวิจยะ พิจารณาให้พอทีเดียว เมื่อพิจารณาพอจนเป็น สติสัมโพชฌงค์ จิตจึงเป็นสมาธิรวมลงเอย การประกอบความเพียรทำจิตให้ยิ่ง เป็นการปฎิบัติคำสอนตามคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
คุณธรรม ยังผู้เข้าถึงให้เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง เลื่องระบือ มีความฉลาดกว้างขวางในอุบายวิธี ไม่มีความคับแค้นอับจน หมดสิ้นหนทาง ไม่ว่าจะเรื่องใด
ความไม่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่แน่นอน ความยิ่งใหญ่คือ ความไม่ยั่งยืน ชีวิตที่ยิ่งใหญ่คือ ชีวิตที่อยู่ด้วยทาน ศีล เมตตา และกตัญญู ชีวิตที่มีความดี อาจมิใช่ความยิ่งใหญ่ แต่ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ต้องอาศัยคุณธรรมความดีเท่านั้น
วาสนา นั้นเป็นไปตามอัธยาศัย คนที่มีวาสนาในทางที่ดีมาแล้ว แต่คบคนพาล วาสนาก็อาจจะเป็นเหมือนคนพาลได้ บางคนวาสนายังอ่อน เมื่อคบบัณฑิตวาสนาก็เลื่อนขั้นขึ้นเป็นบัณฑิต ฉะนั้น บุคคลจึลควรพยายามคบแต่บัณทิต เพื่อเลื่อนภูมิวาสนาของตนให้สูงขึ้น
ผู้มีปัญญาไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงมาแล้วตามมา ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ผู้มีปัญญได้เห็นธรรมซึ่งเป็นปัจจุบัน ควรเจริญความเห็นนั้นไว้เนืองๆ ควรรีบทำเสีย ผู้มีปัญญาซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรแยกกิเลสให้หมดไป จะไม่เกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียร ทั้งกลางวันและกลางคืน
[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
bua:
คติธรรมคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
คัดจากหนังสือ ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ
* ผู้สนใจศึกษาปฏิบัติธรรม คือผู้สนใจหาความรู้ความฉลาดเพื่อคุณงามความดีทั้งหลาย ที่โลกเขาปรารถนากันเพราะคนเราจะอยู่และไปโดยไม่มีเครื่องป้องกันตัวย่อมไม่ปลอดภัย ต่ออันตรายทั้งภายนอกภายใน เครื่องป้องกันตัวคือหลักธรรมมีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ จะเป็นเครื่องมั่นคงไม่สะทกสะท้านมีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอิริยาบท
จะคิด-พูด-ทำอะไรไม่มีการยกเว้น มีสติปัญญาสอดแทรกอยู่ด้วยทั้งภายในและภายนอก มีความเข้มแข็งอดทน มีความเพียรที่จะประกอบคุณงามความดี คนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่นวุ่นวายอยู่กับอารมณ์เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจ และเกียจคร้านในกิจการที่จะยกตัวให้พ้นภัย
* การตำหนิติเตียนผู้อื่น ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวไปด้วย
ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรม ไม่มีดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน
การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง
* ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่น ว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนทำลายกัน ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์ ไม่ตกต่ำเพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน จึงควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์ ธรรมก็สั่งสอนแล้วควรจดจำให้ดี ปฏิบัติให้มั่นคง จะเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน
* เมื่อเกิดมาอาภัพชาติ แล้วอย่าให้ใจอาภัพอีก
ผู้เกิดมาชาตินี้อาภัพแล้ว อย่าให้ใจอาภัพ คิดแต่ผลิตโทษทำบาปอกุศลเผาผลาญตนให้ได้ทุกข์ เป็นบาปกรรมอีกเลย
* คนชั่ว ทำชั่วได้ง่าย และติดใจไม่ยอมลดละแก้ไขให้ดี
คนดี ทำดีได้ง่าย และติดใจกลายเป็นคนรักธรรมตลอดไป
* เราต้องการของดี คนดี ก็จำต้องฝึก ฝึกจนดี จะพ้นการฝึกไปไม่ได้ งานอะไรก็ต้องฝึกทั้งนั้น ฝึกงาน ฝึกคน ฝึกสัตว์ ฝึกตน ฝึกใจ นอกจากตายแล้วจึงหมดการฝึก คำว่า ดี จะเป็นสมบัติของผู้ฝึกดีแล้วแน่นอน
* ศีล นั้นอยู่ที่ไหนมีตัวตนเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่า ผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนาคือจิตใจ คนเราถ้าจิตใจไม่มีก็ไม่เรียกว่าคน มีแต่กายจะทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่างๆ มีโทษต่างๆ ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียนไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลงหา หลงขอ คนที่หา คนที่ขอต้องเป็นทุกข์ ขอเท่าไหร่ยิ่งไม่มี ยิ่งอดอยากยากเข็ญ
กายกับจิตเราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้มาจากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์ จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลมีอยู่ที่เราแล้ว รักษาได้ไม่มีกาล ได้ผลไม่มีกาล
ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ผู้มีศีลย่อมมีความสุข ผู้จักมั่งคั่งบริบูรณ์ไม่อด ไม่ยาก ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลให้สมบูรณ์ จิตดวงเดียวเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา
ผู้มีศีลแท้เป็นผู้หมดเวรหมดภัย
* คุณธรรม ยังมีผู้เข้าถึงให้เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องเลื่องระบือ มีความฉลาด กว้างขวางในอุบายวิธี ไม่มีคับแค้นจนมุม
* การปฏิบัติธรรม เป็นการทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทรงตรัสสอนเรื่องกาย วาจา จิต มิได้สอนเรื่องอื่น ทรงสอนให้ปฎิบัติฝึกหัดจิตใจ ให้เอาจิตพิจารณากาย เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หัดสติให้มากในการค้นคว้า เรียกว่า ธัมมวิจยะ พิจารณาให้พอทีเดียว เมื่อพิจารณาพอจนเป็นสติสัมโพชฌงค์ จิตจึงจะเป็นสมาธิรวมลงเอง
การประกอบความพากเพียรทำจิตให้ยิ่ง เป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ความไม่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และแน่นอน
ความยิ่งใหญ่ คือความไม่ยั่งยืน
ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ คือชีวิตที่อยู่ด้วยทาน ศีล เมตตา และกตัญญู
ชีวิตที่มีความดี อาจมิใช่ความยิ่งใหญ่ แต่ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ต้องอาศัยคุณธรรมความดีเท่านั้น
* วาสนา นั้นเป็นไปตามอัธยาศัย
คนที่มีวาสนาในทางที่ดีมาแล้ว แต่คบคนพาล วาสนาก็อาจเป็นคนพาลได้ บางคนวาสนายังอ่อน เมื่อคบบัณฑิต วาสนาก็เลื่อนขึ้นเป็นบัณฑิต
ฉะนั้น บุคคลควรพยายามคบแต่บัณฑิต เพื่อเลื่อนภูมิวาสนาของตนให้สูงขึ้น
ผู้มีปัญญา ไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงแล้วตามมา ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
ผู้มีปัญญา ได้เห็นในธรรมซึ่งเป็นปัจจุบัน ควรเจริญความเห็นนั้นไว้เนืองๆ ควรรีบทำเสีย
ผู้มีปัญญา ซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรแยกกิเลสให้หมดไป จะไม่เกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน
* จิต เป็นสมบัติสำคัญมากในตัวเราที่ควรได้รับการเหลียวแล ด้วยวิธีเก็บรักษาให้ดี ควรสนใจรับผิดชอบต่อจิต อันเป็นสมบัติที่มีค่ายิ่งของตน วิธีที่ควรกับจิตโดยเฉพาะก็คือภาวนา ฝึกหัดภาวนาในโอกาสอันควร ตรวจดูจิตว่า มีอะไรบกพร่องและเสียไป จะได้ซ่อมสุขภาพจิต
นั่งพินิจพิจารณาดูสังขารภายใน คือ ความคิดปรุงแต่งของจิตว่า คิดอะไรบ้าง มีสาระประโยชน์ไหม คิดแส่หาเรื่อง หาโทษ ขนทุกข์มาเผาตนอยู่นั้น พอรู้ผิด-ถูกของตัวบ้างไหม
พิจารณาสังขารภายนอกว่า มีความเจริญขึ้นหรือเจริญลง สังขารมีอะไรใหม่หรือมีความเก่าแก่ชราหลุดไป พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เวลาที่พอจะทำได้ ตายแล้วจะเสียการให้ท่องในใจอยู่เสมอว่า เรามีความแก่-เจ็บ-ตาย อยู่ประจำตัวทั่วหน้ากัน
* ทาน-ศีล- ภาวนา ธรรมทั้ง 3 นี้ เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์ และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ ต้องเป็นผู้เคยสั่งสมธรรมเหล่านี้มาอยู่ในนิสัย ของผู้จะมาสวมร่างเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษย์อย่างแท้จริง
[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
bua:
อานิสงส์ของการรักษาศีล 5
คำว่า ศีล ได้แก่สภาพเช่นไร ศีลอย่างแท้จริงเป็นไปด้วยความมีสติ รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร ระวังการระบายออกทางทวารทั้งสาม คอยบังคับกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในขอบเขตของศีลที่เป็นสภาพปกติ ศีลที่เกิดจากการรักษามีสภาพปกติไม่คะนองทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นที่เกลียด นอกจากความปกติงดงามทางกาย วาจา ใจ ของผู้มีศีลว่าเป็นศีล เป็นธรรม เราควรรักษาศีล 5
1. สิ่งที่มีชีวิต เป็นสิ่งที่มีคุณค่า จึงไม่ควรเบียดเบียน ข่มเหง และทำลายคุณค่าแห่งความเป็นอยู่ของเขาให้ตกไป
2. สิ่งของของใคร ๆ ก็รักและสงวน ไม่ควรทำลาย ฉกลัก ปล้น จี้ เป็นต้นอันเป็นการทำลายสมบัติและทำลายจิตใจกัน
3. ลูก หลาน สามี ภรรยา ใคร ๆ ก็รักสงวนอย่างยิ่ง ไม่ปรารถนาให้ใครมาอาจเอื้อม ล่วงเกิน เป็นการทำลายจิตใจของผู้อื่นอย่างหนัก และเป็นบาปไม่มีประมาณ
4. มุสา การโกหกพกลม เป็นสิ่งทำลายความเชื่อถือของผู้อื่นให้ขาดสะบั้นลงอย่างไม่มีดี แม้เดรัจฉานก็ไม่พอใจคำหลอกลวง จึงไม่ควรโกหกหลอกลวงให้ผู้อื่นเสียหาย
5. สุรา ยาเสพติด เป็นของมึนเมาและให้โทษ ดื่มเข้าไปย่อมทำให้คนดี ๆ กลายเป็นคนบ้าได้ ลดคุณค่าลงโดยลำดับ ผู้ต้องการเป็นคนดีมีสติปกครองตัว อย่างมนุษย์จึงไม่ควรดื่มสุรา เครื่องทำลายสุขภาพทางร่างกายและใจอย่างยิ่ง เป็นการทำลายตัวเอง และผู้อื่นไปด้วยในขณะเดียวกัน
อานิสงส์ของการรักษาศีล 5
1. ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
2. ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครอง มีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายมาราวี เบียดเบียนทำลาย
3. ระหว่างลูก หลาน สามี ภริยา อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ไม่มีผู้คอยล่วงล้ำกล้ำกรายต่างครองกันอยู่ด้วยความเป็นสุข
4. พูดอะไร มีผู้เคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์เป็นที่จับใจไพเราะ ด้วยสัตย์ด้วยศีล
5. เป็นผู้มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด ไม่หลงหน้าหลงหลัง จับโน่นชนนี่เหมือนคนบ้าคนบอหาสติไม่ได้ ผู้มีศีล เป็นผู้ปลูกและส่งเสริมสุขบนหัวใจคนและสัตว์ทั่วโลกให้ มีแต่ความอบอุ่นไม่เป็นระแวงสงสัย ผู้ไม่มีศีลเป็นผู้ทำลายหัวใจคนและสัตว์ ให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า
ศีล นั้นอยู่ที่ไหน มีตัวตนเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่า ผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนา คือ จิตใจ คนเราถ้าจิตไม่มี ก็ไม่เรียกว่าตน มีแต่กายจะทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่าง ๆ ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียนไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลงหาหลงขอคนที่หา คนที่ขอ ต้องเป็นทุกข์ ขอเท่าไรยิ่งไม่มี ยิ่งอดอยาก ยากเข็ญยิ่งไม่มี
กายกับจิต เราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้จากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์แล้ว จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลมีอยู่ที่เรานี้แล้ว รักษาได้ไม่มีกาล ได้ผลไม่มีกาล
ผู้มีศีล ย่อมเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ผู้มีศีล ย่อมมีความสุข ผู้จักมั่งคั่งบริบูรณ์ สมบูรณ์ ไม่อด ไม่อยาก ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลได้สมบูรณ์ จิตดวงเดียว เป็นศีลเป็นสมาธิ เป็นปัญญา
ผู้มีศีลแท้ เป็นผู้หมดเวรหมดภัย
...
ขอขอบคุณที่มาบทความ : คติธรรม คำสอน ของ องค์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร
19 กรกฏาคม 2548
[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
bua:
บทสรุปของชีวิตคนเรา ตั้งแต่เกิดจนถึงวันละโลกนี้ไป มีอยู่ ๔ แบบ คือ
- มาดี อยู่ดี ไปดี
- มาไม่ดี อยู่ดี ไปดี
- มาดี อยู่ไม่ดี ไปไม่ดี
- มาไม่ดี อยู่ไม่ดี ไปไม่ดี
- มาดี อยู่ดี ไปดี เป็นชีวิตของผู้ที่เกิดมามีความพร้อมบริบูรณ์ทั้งด้านสติปัญญา ร่างกายฐานะความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีครอบครัวที่อบอุ่น ทำให้ได้รับโอกาสอันดีทุกอย่างในชีวิต เรียกว่า มาดี และเป็นผู้ที่ไม่ประมาทมัวเมา ไม่ทำลายโอกาสอันดีที่ตนได้รับ ไม่ปล่อยให้ความสะดวกสบายมาทำให้หลงระเริง สร้างฐานะทางโลกให้ประสบความสำเร็จ ทั้งครอบครัว การศึกษา หน้าที่การงาน ส่วนชีวิตทางธรรม แม้มีความมั่งคั่งพรั่งพร้อมของชีวิตทางโลก แต่ไม่ละเลยเรื่องจิตใจและคุณธรรม ด้วยตระหนักว่าความพรั่งพร้อมด้านวัตถุไม่ใช่เป้าหมายอย่างเดียวของชีวิต จึงไม่เห็นแก่ตัว มีความเสียสละเอื้อเฟื้อเพื่อส่วนรวม พร้อมทั้งใส่ใจศึกษาและประพฤติธรรมด้วยเห็นว่าเป็นทางนำพาชีวิตให้ถึงเป้า หมายที่สูงขึ้นไป เรียกว่า อยู่ดี ชีวิตเช่นนี้ เมื่อต้องจากไป เรียกว่า ไปดี ไปด้วยความดีงาม
- มาไม่ดี อยู่ดี ไปดี สำหรับบางคนแม้จะเกิดมามีความไม่พร้อม ขาดตกบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดไปบ้าง แต่ทำใจรับได้ ไม่ยอมให้มาเป็นอุปสรรคบั่นทอนกำลังใจในการพลิกชีวิตของตนให้ดีขึ้น ตระหนักว่าคุณค่าของชีวิตขึ้นอยู่กับการกระทำในปัจจุบันของตนเอง จึงสร้างสรรค์พัฒนาชีวิตด้วยคุณธรรมคือความอดทนและพากเพียร และเพราะเห็นคุณค่าของธรรมะ จึงดำรงตนอยู่ในคุณธรรมความดี และฝึกฝนจิตใจให้พบกับความสงบร่มเย็น เป็นชีวิตที่แม้จะมาไม่ดี แต่ อยู่ดี และไปดี
- มาดี อยู่ไม่ดี ไปไม่ดี ชีวิตแบบนี้เกิดมามีครบถ้วนบริบูรณ์ทุกอย่าง ราวสวรรค์ประทานพรมาให้ แต่กลับทำลายโอกาสอันดีของตน ไม่ใช้โอกาสอันดีนั้นไปในการสร้างสรรค์และพัฒนาคุณค่าสาระให้กับชีวิต มีทรัพย์ก็ใช้ไปทางเสพทางบริโภคอย่างเดียว เห็นแก่ความสุขทางโลกีย์ แม้สร้างชีวิตทางโลกได้ดี แต่ไม่ใส่ใจในคุณธรรมศีลธรรม ประพฤติทุจริตผิดศีลธรรม มุ่งแต่หาผลประโยชน์ สนแต่ความมั่งคั่งร่ำรวย และเกียรติยศชื่อเสียงหน้าตาทางโลก แม้มีความสุข แต่เป็นความสุขที่เร่าร้อน หาความเย็นใจได้ยาก บั้นปลายชีวิต จะห่วงใยหวงแหนสมบัติไม่อยากพลัดพรากไป จะรู้สึกอ้างว้างและว้าเหว่สับสน เพราะไม่ได้สร้างสมบุญกุศลเป็นที่พึ่งทางใจไว้ เรียกว่า ไปด้วยความทุกข์
- มาไม่ดี อยู่ไม่ดี ไปไม่ดี ชีวิตแบบสุดท้าย เป็นชีวิตที่ยอมแพ้อย่างหมดรูป แทนที่จะแก้ไขปรับปรุงชีวิต ทั้งที่มีโอกาสเพราะมนุษย์มีศักยภาพในการพัฒนาชีวิตให้มีความสุขความสำเร็จ ได้ แต่ไม่ยอมขวนขวายพยายามเพื่อสร้างฐานะและชีวิต แถมซ้ำยังทำกรรมชั่วซ้ำเติมชีวิตให้ตกต่ำลงไปอีก
สิ่งสำคัญที่เป็นตัวกำหนดบทสรุปชีวิตของแต่ละคนให้ อยู่ดี ไปดี คือ กรรมปัจจุบัน ได้แก่การใช้ชีวิตในปัจจุบันด้วยธรรมะคือคุณธรรมต่าง ๆ ในการแก้ไขปรับปรุง พัฒนาชีวิต ทั้งชีวิตทางโลก และชีวิตทางธรรม ให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการเกิดมา เพราะฉะนั้น ชีวิตจะมาอย่างไรไม่สำคัญ แต่ อยู่ให้เป็น อยู่ให้ดี สำคัญที่สุด .. K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[ K:[
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version